ฟังก์ชันของ PHP ฟังก์ชันเกี่ยวกับสตริง ฟังก์ชัน explode() และ implode() ฟังก์ชันทั้งสองนี้ทำงานตรงกันข้ามกัน คือฟังก์ชัน explode() ใช้จัดการแบ่งสตริงออกเป็นสตริงย่อยๆด้วยสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นตัวแบ่ง ซึ่งหลังจากแบ่งออกเป็นสตริงย่อยๆแล้วสตริงย่อยเหล่านั้นจะถูกจัดเก็บไว้ในตัวแปรอาร์เรย์เริ่มจากอาร์เรย์ช่องที่ศูนย์ explode(สัญลักษณ์ที่ใช้แบ่ง, สตริงข้อความ, [จำนวนสตริงย่อยที่ต้องการแบ่งออกมา]) Explode.php one two|three|four

one two three four implode() ใช้จัดการนำข้อมูลอาร์เรย์มาประกอบรวมกันเป็นสตริงเพียงชุดเดียว implode(สัญลักษณ์ที่ใช้แบ่ง, อาร์เรย์) implode.php lastname,email,phone ฟังก์ชัน strcmp() ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับการเปรียบเทียบว่าสตริง 2 ชุด สตริงชุดใดมีค่า มากกว่า น้อยกว่า หรือมีค่าเท่ากัน strcmp(string1, string2) ฟังก์ชันนี้จะคืนค่าที่มีค่าน้อยกว่า 0 ถ้า string1 น้อยกว่า string2 (string1 มาก่อน string2) ฟังก์ชันนี้มีจะคืนค่าที่มีค่ามากกว่า 0 ถ้า string1 มากกว่า string2 (string1 มาทีหลัง string2) ฟังก์ชันนี้จะคืนค่าที่มีค่าเท่ากับ 0 ถ้า string1 เท่ากับ string2 Strcmp.php computer มีค่ามากกว่า command ฟังก์ชัน strlen() ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับการหาค่าความยาวของสตริง strlen(สตริงที่ต้องการหาค่าความยาว) strlen.php 6
7 ฟังก์ชัน substr() ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับการดึงบางส่วนของสตริงออกมาจากสตริงหลักโดย ใช้วิธีการกำหนดว่าจะเริ่มดึงสตริงออกมาตั้งแต่ส่วนไหนและดึงออกมากี่ตัว substr(สตริงหลัก, จุดเริ่มต้นที่ต้องการดึง, [ความยาวของสตริงที่ต้องการดึงออกมา]) substr.php bcdef
bcd
abcd
abcdef
f ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชัน abs() ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับการหาสัมบูรณ์ของเลขจำนวน (Absolute Number) คือทำการเปลี่ยนเลขจำนวนให้เป็นค่าบวก ไม่ว่าตัวเลขที่ นำมาเข้าฟังก์ชันนี้จะมีค่าติดลบหรือไม่ก็ตาม และนอกจากนั้นฟังก์ชันนี้ยัง สามารถใช้กับตัวเลขจำนวนเต็ม หรือเลขทศนิยมก็ได้ abs.php ค่าสัมบูรณ์ของ -4.2 คือ 4.2
ค่าสัมบูรณ์ของ 5 คือ 5
ค่าสัมบูรณ์ของ -5 คือ 5
ฟังก์ชัน max() และ min( ) ฟังก์ชันทั้งสองนี้ใช้ในการหาว่ากลุ่มของตัวเลขที่กำหนดขึ้นมาตัวเลขใด มีค่ามากที่สุด และตัวเลขใดมีค่าน้อยที่สุดตามลำดับ โดยสามารถนำไป ประยุกต์ใช้เพื่อหาว่าราคาสินค้าที่มีราคาแพงที่สุดคือเท่าไร และราคาสินค้า ที่ถูกที่สุดคือเท่าไร max(ตัวเลขที่1, ตัวเลขที่2, …) min(ตัวเลขที่1, ตัวเลขที่2, …) Max Min.php 6500
4500 ฟังก์ชัน pow() ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับการหาค่าของเลขยกกำลัง Pow(ตัวเลขฐาน, ตัวเลขชี้กำลัง) pow.php 2 ยกกำลัง 3 มีค่าเท่ากับ 8
-1 ยกกำลัง 20 มีค่าเท่ากับ 1
0 ยกกำลัง 0 มีค่าเท่ากับ 1
ฟังก์ชัน rand() ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับการหาค่าของตัวเลขสุ่ม โดยการใช้งานของฟังก์ชัน นี้จะสุ่มตัวเลขขึ้นมาโดยอัตโนมัติทำให้เราจะได้ค่าตัวเลขที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่ามันจะสุ่มอะไรให้ รูปแบบการใช้งานเป็นดังนี้ rand([ค่าต่ำสุดที่ต้องการให้สุ่ม , ค่าสูงสุดที่ต้องการให้สุ่ม]) rand.php เลขสุ่มครั้งที่ 1 เท่ากับ 1451754430
เลขสุ่มครั้งที่ 2 เท่ากับ 1298471324
เลขสุ่มระหว่าง 5-15 เท่ากับ 9 ฟังก์ชัน round() ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับการปัดตัวเลขทศนิยม ถ้าตำแหน่งที่ต้องการปัด มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ตัวเลขด้านซ้ายที่ติดกันจะปัดขึ้น 1 แต่ถ้าตำแหน่งที่ ต้องการปัดน้อยกว่า 5 ตัวเลขด้านซ้ายที่ติดกันจะเท่าเดิมคือไม่มีการปัด รูปแบบการใช้งานของฟังก์ชันนี้เป็นดังนี้ round(ตัวเลขทศนิยม, [จำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมที่ต้องการ]) round.php 3
4
4
4
1.96
5.05
5.06 ฟังก์ชัน sqrt() ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับการหาค่ารากที่ 2 ของตัวเลขใดๆ (Square Root) Sqrt.php ค่ารากที่ 2 ของ 9 มีค่าเท่ากับ 3
ค่ารากที่ 2 ของ 10 มีค่าเท่ากับ 3.1622776601684 ฟังก์ชันเกี่ยวกับวันและเวลา ฟังก์ชัน date() ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับดึงวันเดือนปี และเวลาปัจจุบันของเครื่องตาม รูปแบบที่ต้องการ date(ตัวอักษรที่ระบุรูปแบบในการแสดงผล, [เวลาที่ระบุ]) Date.php September 28, 2023, 6:05 pm
09.28.23
28, 9, 2023
20230928
06-05-05, 28-09-23, 0530 0505 4 Thupm23 270
it is the 28th day.
Thu Sep 28 18:05:05 ICT 2023
18:09:05 m is month
18:05:05
ฟังก์ชัน getdate() ฟังก์ชัน getdate() นี้จะให้ผลลัพธ์เหมือนกับฟังก์ชัน date() คือ ให้ผลลัพธ์เป็นวันและเวลาปัจจุบัน แต่ต่างกันที่ผลลัพธ์จะแสดงเป็นข้อมูล ชนิดอาร์เรย์ getdate.php 5
5
18
28
4
9
2023
270
Thursday
September ceil() คิดว่าย่อมาจาก ceiling ที่แปลว่าเพดานนั่นแหละครับ ความสามารถของฟังก์ชันนี้ก็สมกับชื่อของมันครับ คือการปัดเศษให้ติดเพดาน หรือการปัดเศษขึ้นไปเป็นจำนวนเต็มที่ใกล้ที่สุดไปเลยนั่นเอง โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ceil(เลขทศนิยม) ดูตัวอย่างนะครับ 6
6
5
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ 6 6 5 เห็นได้ว่า ไม่ว่าเศษทศนิยมมันจะมากหรือน้อยแค่ไหน มันก็จะถูกปัดขึ้นเสมอเลยครับ floor() แปลเป็นภาษาไทยก็คือ พื้น ถ้าจะให้เดาหน้าที่การทำงาน ก็คือ การปัดเศษให้ต่ำติดพื้นไปเลยนั่นเอง ซึ่งก็คือ การปัดเศษลงไปยังจำนวนเต็มใกล้เคียงที่สุดครับ มีรูปแบบการใช้งานเหมือนกับ ceil() เลยก็คือ floor(เลขทศนิยม) เรามาดูตัวอย่างกันครับ 5
5
4
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ 5 5 4 สังเกตนะครับ ว่าแทนที่มันจะปัดเศษขึ้นเหมือนกับฟังก์ชัน ceil() แต่ floor() จะทำการปัดเศษลงหมด โดยไม่สนว่าจำนวนเทศนิยมนั้น มีค่ามากน้อยแค่ไหน วันนี้พอหอมปากหอมคอแค่นี้ครับ ฟังก์ชัน addslashes ฟังก์ชัน addslashes() เป็นฟังก์ชันที่ใช้เพิ่มเครื่องหมาย backslash (\) ให้กับ double quote (") , single quote (') และ backslash (\) ส่วนใหญ่มักใช้งานฟังก์ชันนี้ กับการสร้างสตริงคำสั่ง SQL เพื่อดำเนินการใด ๆ กับฐานข้อมูล ฟังก์ชัน ord และ chr ord() เป็นฟังก์ชันที่จะส่งค่าแอสกี้ของตัวอักษรที่ระบุกลับมา chr() เป็นฟังก์ชันที่จะ คืนค่าตัวอักษร กลับมาหลังจากเราใส่ค่า Acsii ไปให้ เช่น ค่า ASCII ของ X คือ ord(X)
ตรวจสอบค่า ASCII 88 ได้ตัวอักษร chr(88)
จากตัวอย่างเป็นการใช้คำสั่ง เพื่อหาค่า ascii ของตัวอักษร X ฟังก์ชันที่ใช้ในการเข้ารหัส PHP มีฟังก์ชันที่ใช้ในการเข้ารหัสมากมาย ทั้ง crypt , md5 , crc32 ฟังก์ชัน crypt() เป็นฟังก์ชัน ที่ใช้เข้ารหัสข้อความ โดยที่ไม่สามารถถอดรหัสนั้นกลับคืนมาเป็นข้อความเดิมได้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้ารหัสด้วยฟังก์ชันนี้จะเปลี่ยนแปลงไปทุกครั้งเมื่อมีการเรียกใช้งาน ครั้งที่ 1 : $1$IsglKb7D$DVXef8tn0pTbPKbML4suJ/
ครั้งที่ 2 : $1$ErQy.jSz$s4TWahqUPyRV/z85Ob5cS0
ครั้งที่ 3 : $1$1lsB.ylE$ad2IBLIwyj1BGuijZyMnP/
จากตัวอย่างจะมีการแสดงค่าที่ได้จากคำสั่ง crypt ถึง 3 ครั้ง เพื่อแสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสด้วย crypt มีผลออกมาเป็นอย่างไร ฟังก์ชัน md(5) เป็นฟังก์ชันที่เข้ารหัสข้อความด้วยวิธี Message-Digest Algorithm ของ RSA Data Security , Inc. ฟังก์ชันนี้มีแบบแผนในการเข้ารหัสที่แน่นอน โดยผลลัพธ์ เป็นสตริงที่มีความยาว 32 ตัวอักษร นำข้อมูล truehits เข้ารหัส md5 ได้ผลคือ : a62458f1c1b4f38b32cdeefd476bc8bb
ผลที่ได้จากฟังก์ชัน md5 จะมีแบบแผนที่แน่นอน ซึ่งถ้าเราเรียกคำสั่งนี้หลาย ๆ ครั้ง กับข้อมูลชุดเดิม ก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนเดิมเสมอ ฟังก์ชัน crc32() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สร้าง CRC จากข้อความที่กำหนด ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นตัวเลขจำนวน 32 บิต ข้อความ truehits เข้ารหัส CRC ได้ : 121198201
หรือเขียนในตัวเลขฐานสองได้ดังนี้ : 111001110010101011001111001
หรือเขียนในตัวเลขฐานสองได้ดังนี้ : 111001110010101011001111001
เรามักใช้ฟังก์ชัน crc32 ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รับส่งกัน ฟังก์ชันสำหรับรวมและแยกสตริง ฟังก์ชันสำหรับรวมและแยกสตริง สำหรับการแยกสตริงออกเป็นสมาชิก array ต่าง ๆ และการรวมสมาชิก array ต่าง ๆ นั้น ทาง php ได้สร้างฟังก์ชันสำหรับใช้งานในส่วนนี้ได้แก่ implode() และ explode() implode() เป็นฟังก์ชันที่นำข้อมูลจากarrayมาประกอบกันเป็นข้อมูล ชนิดสตริง Truehits+Thailand+Directoryจากการใช้งานฟังก์ชันนี้ทำให้ได้ข้อมูลสตริง explode() เป็นฟังชันก์ที่ใช้แบ่งข้อความออก โดยได้ ผลลัพธ์เป็นarray ซึ่งแบ่งเป็นสมาชิกตัวต่าง ๆ ได้จาก ตัวแยกที่กำหนดในฟังก์ชัน ตัวอย่าง ต้องการแยกข้อความโดยใช้ช่องว่างแยกได้คือ 0: Truehits
ต้องการแยกข้อความโดยใช้ช่องว่างแยกได้คือ 1: Thailand
ต้องการแยกข้อความโดยใช้ช่องว่างแยกได้คือ 2: Directory
จากการใช้คำสั่ง explode ทำให้ได้ array และข้อความที่แยกจะไปเป็นสมาชิก array ฟังก์ชัน htmlspecialchars และ nl2br htmlspecialchars() เป็นฟังก์ชันที่ใช้เปลี่ยนตัวอักษร ซึ่งมีความหมายพิเศษต่อเว็บบราวเซอร์ เช่น < , > , & , " , ' ให้อยู่ในรูปแบบที่เว็บบราวเซอร์สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง เช่น > จะถูกเปลี่ยนเป็น > เป็นต้น ส่วน nl2br() เป็นฟังก์ชันที่ใช้แทรกแท็ก
( หรือแท็ก
,
ใช้ขึ้นบรรทัดใหม่ของ XHTML ) 1:
ทดสอบ

2:<font color=red><br>ทดสอบ</b></font>จากตัวอย่างจะเห็นว่า htmlspecialchars เป็นฟังก์ชันที่มีประโยชน์มาก ฟังก์ชัน strlen และ strrev strlen() เป็นฟังก์ชันที่ใช้นับจำนวนอักษรในสตริง (ความยาวของสตริง) strrev() เป็นฟังก์ชันที่ใช้กลับลำดับของตัวอักษรในสตริง จำนวนอักษร =27
สลับด้านตัวอักษร ได้ผลดังนี้ :yrotceriD dnaliahT stiheurTฟังก์ชัน trim , ltrim และ rtrim trim() ใช้ตัด ช่องว่างที่มองไม่เห็นทุกประเภทออกไปโดย ตัดทางด้านหน้าและด้านหลังของข้อความ ltrim() ใช้ตัด ช่องว่าง ทางด้านหน้าของข้อความที่กำหนด rtrim() ใช้ตัด ช่องว่าง ทางด้านหลังของข้อความที่กำหนด $mystr ยาว 10ตัวอักษร
$cutstr มีความยาว 9ตัวอักษร
$rcutstr มีความยาว 9ตัวอักษร
$abmystr มีความยาว 8ตัวอักษร