ก่อนหน้า

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

เรื่องต่อไป

2.4 กระบวนการ (Process)

โปรเซส (Process) เป็นหนึ่งในการทำงานของโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ มีความหมายใกล้เคียงกับทาส์ก (Task) และใช้ในบางระบบปฏิบัติการ ในยูนิกซ์ (UNIX) และระบบปฏิบัติการอื่น โปรเซส (Process) เริ่มต้นเมื่อโปรแกรมเริ่มต้น (ทั้งโดยผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมอื่น) โปรเซสเหมือนกับทาส์กคือ ให้โปรแกรมทำงาน ด้วยกลุ่มข้อมูลเฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกันทำให้ โปรเซสสามารถเก็บรายละเอียดได้ โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานร่วม โดยผู้ใช้หลายคน ตามปกติจะมีโปรเซสหนึ่งที่บางขั้นตอนของการประมวลผลสำหรับแต่ละผู้ใช้

โปรเซสสามารถเริ่มต้นโปรเซสย่อย (Sub Process) ซึ่งเรียกว่า Child Process (ส่วน Process เริ่มต้นบางครั้งอ้างอิงในฐานะ Parent) Child Process เป็นตัวจำลองของ Parent Process และใช้ทรัพยากรร่วมกัน แต่จะไม่ดำรงอยู่ถ้า Parent สิ้นสุดการทำงาน

รูปที่ 2.15 ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
ที่มา : http://www.thaiwbi.com/

โปรเซสสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศ หรือปรับข้อมูลให้เท่ากัน ด้วยการทำงานผ่านหลายเมธอดของ Inter Process Communication

รูปที่ 2.16 กระบวนการ
ที่มา : http://www.thaiwbi.com/

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2.4.1. ส่วนที่นำเข้า (Inputs)

ได้แก่การรวบรวมและการจัดเตรียมข้อมูลดิบส่วนที่นำเข้านี้สามารถมีได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการโทรเข้าเพื่อขอข้อมูลในระบบสอบถามเบอร์โทรศัพท์ข้อมูลที่ลูกค้ากรอกในใบสอบถามการให้บริการของร้านค้า ฯลฯ ขึ้นอยู่กับส่วนแสดงผลที่ต้องการส่วนที่นำเข้านี้อาจเป็นขบวนการที่ทำด้วยตัวเองหรือเป็นแบบอัตโนมัติก็ได้ เช่น การอ่านข้อมูลรายชื่อสินค้าและรายงานราคาโดยเครื่องอ่านบาร์โค้ดของห้างสรรพสินค้าจัดเป็นส่วนที่นำเข้าแบบอัตโนมัติิ

2.4.2. การประมวลผล (Processing)

เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนและการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของส่วนแสดงผลที่มีประโยชน์ตัวอย่างของการประมวลผลได้แก่การคำนวณ การเปรียบเทียบการเลือกทางเลือกในการปฏิบัติงานและการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในอนาคตโดยการประมวลผลสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือสามารถใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น ระบบคิดเงินเดือนพนักงานสามารถคิดได้จากการนำจำนวนชั่วโมงการทำงานของพนักงานคูณเข้ากับอัตราค่าจ้างเพื่อให้ได้ยอดเงินรวมที่ต้องจ่าย รวมถึงชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์มากกว่า 40 ชั่วโมงอาจมีการคิดเงินล่วงเวลาให้ โดยเพิ่มเข้าไปกับเงินรวมจากนั้นอาจจะทำการหักภาษีพนักงานโดยการนำเงินรวมมาคิดภาษีและนำเงินรวมมาลบด้วยภาษีที่คำนวณได้จะทำให้ได้เงินสุทธิที่ต้องจ่ายให้กับพนักงาน

2.4.3. ส่วนที่แสดงผล (Outputs)

เกี่ยวข้องกับการผลิตสารสนเทศที่มีประโยชน์มักจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือรายงานหรืออาจะเป็นเช็คที่จ่ายให้กับพนักงาน รายงานที่นำเสนอผู้บริหารและสารสนเทศที่ถูกผลิตออกมาให้กับผู้ถือหุ้นธนาคารหรือกลุ่มอื่นๆโดยส่วนแสดงผลของระบบหนึ่งอาจใช้เป็นส่วนที่นำเข้าเพื่อควบคุมระบบหรืออุปกรณ์อื่นๆ ก็ได้ เช่น ในขบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ พนักงานขายลูกค้าและนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์อาจจะทำการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าโดยอาจจะใช้ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบนี้ด้วยจนกระทั่งได้ต้นแบบที่ตรงความต้องการมากที่สุดจึงส่งแบบนั้นไปทำการผลิตจะเห็นว่าแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ได้จากการออกแบบแต่ละครั้งจะเป็นส่วนที่ถูกนำไปปรับปรุงการออกแบบในครั้งต่อๆไป จนกระทั่งได้แบบสุดท้ายออกมาอาจอยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ที่ออกมาจากเครื่องพิมพ์หรือแสดงอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์แสดงผลตัวหนึ่งหรืออาจจะอยู่ในรูปของรายงานและเอกสารที่เขียนด้วยมือก็ได้

2.4.4. ผลสะท้อนกลับ (Feedback)

คือส่วนแสดงผลที่ใช้ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อส่วนที่นำเข้าหรือส่วนประมวลผลเช่น ความผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลนำเข้าหรือทำการเปลี่ยนแปลงการประมวลผลเพื่อให้ได้ส่วนแสดงผลที่ถูกต้องตัวอย่างเช่น ระบบการจ่ายเงินเดือนพนักงานถ้าทำการป้อนชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์เป็น 400 แทนที่จะเป็น 40 ชั่วโมงถ้าทำการกำหนดให้ระบบตรวจสอบค่าชั่วโมงการทำงานให้อยู่ในช่วง 0-100 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อพบข้อมูลนี้เป็น 400 ชั่วโมงระบบจะทำการส่งผลสะท้อนกลับออกมาอาจจะอยู่ในรูปของรายงานความผิดพลาดซึ่งสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบและแก้ไขจำนวนชั่วโมงการทำงานที่นำเข้ามาคำนวณให้ถูกต้องได้้

Home