ก่อนหน้า

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

เรื่องต่อไป

2.6 เครือข่าย (Network)

1. ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิลหรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้

 

รูปที่ 2.17 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ที่มา : http://tc.mengrai.ac.th/

ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางเราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่าโฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่าไคลเอนต์ (Client)

ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสารเราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคารหรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลกซึ่งข้อมูลต่างๆอาจเป็นทั้งข้อความรูปภาพเสียง ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วแก่ผู้ใช้ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญและจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ

จุดปลายทางของการรับ-ส่งข้อมูลเราเรียกว่าโหนด (Node) ซึ่งโหนดนี้อาจเป็นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ ATM หรือเครื่องรับโทรศัพท์ ซึ่งแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการใช้งานซึ่งการที่จะทำให้แต่ละโหนด ติดต่อรับ-ส่งข้อมูลถึงกันได้นั้นต้องมีการเชื่อมต่อที่เป็นระบบในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้

เราสามารถแบ่งลักษณะของการเชื่อมโยงออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

1. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์หลักที่เป็นโฮสต์ (Host) ต่อสายสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ย่อยที่เป็นไคลเอนต์ (Client) คอมพิวเตอร์ที่เป็นไคลเอนต์แต่ละเครื่องไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรงการติดต่อจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์โฮสต์ (Host) ที่เป็นศูนย์กลาง

รูปที่ 2.16 เครือข่ายแบบดาว
ที่มา : http://tc.mengrai.ac.th

2. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการติดต่อสื่อสารเป็นแบบวงแหวน โดยที่ไม่มีคอมพิวเตอร์หลักคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายสามารถติดต่อกันได้โดยตรง

รูปที่ 2.18 เครือข่ายแบบบัส
ที่มา : http://tc.mengrai.ac.th

3. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์บนสายเคเบิลซึ่งเรียกว่าบัสคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆสามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นอิสระโดยข้อมูลจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆบนสายเคเบิลจนกว่าจะถึงจุดที่ระบุไว้ (Address)

รูปที่ 2.19 เครือข่ายท้องถิ่น
ที่มา : http://tc.mengrai.ac.th

2. ชนิดของเครือข่าย

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)

เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ

รูปที่ 2.20 เครือข่ายระดับเมือง
ที่มา : http://tc.mengrai.ac.th

2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN)

เป็นเครือข่ายขนาดกลางใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกันเช่นระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN

รูปที่ 2.21 เครือข่ายระดับประเทศ
ที่มา : http://tc.mengrai.ac.th

3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)

เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ใช้ติดตั้งบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากมายมากกว่า 1 แสนจุดใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่นระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟหรือดาวเทียม

รูปที่ 2.22 โมเด็ม
ที่มา : www.buycoms.com

3. อุปกรณ์เครือข่าย

เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์
ที่องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ใช้ ซึ่งราคาก็จะสูงตามระดับความสำคัญ และโครงสร้างของระบบเครือข่ายที่ใช้อยู่ ปัจจุบันอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้กันอยู่มีดังนี้

1.โมเด็ม (Modem)

โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับและแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสารกระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่ามอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัลเรียกว่าดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและเครื่องโทรสารเราเรียกว่า Faxmodem

รูปที่ 2.23 การ์ดเครือข่าย
ที่มา : www.itdestination.com

2. การ์ดเครือข่าย (Network Adapter) หรือ การ์ด LAN

เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISA และเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มีSlot ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนักแต่ส่งข้อมูลได้เร็วกว่านอกจากนี้คุณควรคำนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ดแลน จะมีหลายแบบเช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน

รูปที่ 2.24 เกตเวย์
ที่มา : www3.ipst.ac.th

3. เกตเวย์ (Gateway)

เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน

รูปที่ 2.25 เราเตอร์
ที่มา : forums.overclockzone.com

4. เราเตอร์ (Router)

เราท์เตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราท์เตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราท์เตอร์ก็คือปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

รูปที่ 2.26 บริดจ์
ที่มา : www.tanti.ac.th

5. บริดจ์ (Bridge)

บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณบริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูลโดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทางโดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูลบริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกันของข้อมูลลงบริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย

รูปที่ 2.27 รีพีตเตอร์
ที่มา : webserv.kmitl.ac.th

6. รีพีตเตอร์ (Repeater)

รีพีตเตอร์เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทางและสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆเช่นกับรีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical

รูปที่ 2.28 สาย Coax
ที่มา : www.itcomcenter.com

7. สายสัญญาณ

เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกันหากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่ายจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1. สาย Coax มีลักษณะเป็นสายกลม คล้ายสายโทรทัศน์ ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัวT Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย

2. สาย UTP (Unshied Twisted Pair) เป็นสายสำหรับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 100 เมตรหากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่นคือ CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ 10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่ในการใช้งานสายนี้สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัวเพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียวได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่องก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ

รูปที่ 2.29 สาย UTP
ที่มา : www.digitalfocus.co.th

8. ฮับ (HUB)

เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบหากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับ สามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อถึงกันได้โดยตรงแต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่นการ์ดมีความเร็ว 100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับเครื่องใช้ในระบบหากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต

รูปที่ 2.30 ฮับ
ที่มา : it.stoulaws.com
Home