เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้งานภายในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับทั้งพนักงานและองค์กร จึงเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูล และนำข้อมูลมาจัดทำเป็นสารสนเทศสำหรับใช้งาน
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เป็นวิวัฒนาการของการซื้อขายสินค้าและบริการที่เจริญขึ้นในยุคโลกาภิวัติ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคและการดำเนินการของผู้ประกอบการที่เรียบง่าย มาเป็นบริการซื้อ –ขาย ทางออกการชำระเงินบนเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค ทำให้ลดค่าใช้จ่าย และการสิ้นเปลืองเวลาที่เกิดจากการให้และใช้บริการได้เป็นอย่างดี
1. เพิ่มและขยายช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
2. เป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการให้แพร่หลายมากขึ้น
3. เพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาสำหรับผู้บริโภค
ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
ข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
1. เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง |
1. ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ |
2. ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก |
2. ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ |
3. ใช้งบประมาณลงทุนน้อย |
3. การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน |
4. ตัดปัญหาด้านการเดินทาง |
4. ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต |
5. ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์โดยสามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก |
1. ลูกค้า เลือกรายการสินค้าของผู้จำหน่าย (Catalog)
2. ลูกค้า สั่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
3. ลูกค้าชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
4. ลูกค้ารอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)
รูปที่1 กระบวนการพื้นฐานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
รูปที่2 ลักษณะของการดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B to B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือระดับต่างกันก็ได้ เช่น ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก เป็นต้น การทำการค้าระหว่าง Business กับ Business หรือ ผู้ทำการค้ากับผู้ทำการค้า เช่น ร้านขายหนังสือสั่งหนังสือจากโรงพิมพ์
2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer: B to C) หมายถึง ธุรกิจที่เน้นบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค เช่น การขายสินค้าอุปโภคบริโภค การทำการค้าระหว่าง Business กับ Consumer หรือ ผู้ทำการค้ากับผู้บริโภค เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน
3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government: B to G) หมายถึง ธุรกิจบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหาร การจัดการที่ดีของรัฐบาล
4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer: C to C) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต การทำการค้าระหว่าง Consumer กับ Consumer หรือ ผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่น การขายรถยนต์ของตนเองให้กับผู้บริโภคที่สนใจ
5. รัฐบาลกับผู้บริโภค (Government to Consumer: G to C) หมายถึง เป็นการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในประเทศไทยก็มีการให้บริการหลายหน่วยงาน เช่น การเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเตอร์เน็ต การติดต่อทางทะเบียนต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆและสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม บางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้
6. รัฐบาลกับรัฐบาล (Government to Government: G to G) หมายถึง การลงทุน การค้าขายระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล
รูปที่3 เว็บไชต์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การดำเนินการธุรกิจการค้าบนอินเทอร์เน็ต หรือ E-Commerce จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการค้าบนอินเทอร์เน็ตหรือ E-Commerce มีดังนี้
รูปที่4 ภาพแสดงความสัมพันธ์ของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce
I have an id of "popup" on my page container and only look like a dialog because the link to me had a data-rel="dialog"
attribute which gives me this inset look and a data-transition="pop"
attribute to change the transition to pop. Without this, I'd be styled as a normal page.