หน้าก่อนหน้า

บทที่ 9 ผลกระทบและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรื่องต่อไป

9.2 จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

จริยธรรมคอมพิวเตอร์ คือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวอย่างการกระทำผิดจริยธรรมคอมพิวเตอร์

1.การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ

2.การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล

3.การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

4.การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ขอบเขตของจริยธรรมคอมพิวเตอร์มี 4 ประเด็น

1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) เช่น แอบดูอีเมล์ เก็บบันทึกจราจร ข้อมูล ลูกค้า

2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) เช่น Bank Grade Wiki Blog

3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property) เช่น ทรัพย์ที่จับต้องและจับต้องไม่ได้ การ คุ้มครองสิทธิ

4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) เช่น DoS Security Bandwidth Priority Method

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime หรือ Cyber Crime)

อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ

1. ลักลอบขโมย หรือดักดูข้อมูล

2. ละเมิดสิทธิ

3. แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

4. ก่อกวน หรือทำลายระบบสาธารณูปโภค

5. หลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือลงทุนปลอม

6. โอนเงินจากบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีของตน

อาชญากรคอมพิวเตอร์

อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนสำคัญ จำแนกได้ดังนี้

1. Novices คือ พวกมือสมัครเล่น

2. Queer คือ พวกจิตไม่ปกติ

3. Dreamer คือ พวกบ้าลัทธิ

4. Hacker คือ พวกเจาะระบบคอมพิวเตอร์

5. Cracker คือ พวกชอบก่อความเสียหาย

6. Organized Criminal คือ พวกกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกัน

7. Career Criminal คือ พวกอาชญากรมืออาชีพ



Home