หน้าก่อนหน้า

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลเพื่อการจัดการ

เรื่องต่อไป

คำถามท้ายบทที่ 1

1. ระบบบริหารข้อมูลเพื่อการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร ระบบสารสนเทศเพื่อ การบริหารจัดการ ทั้ง 3 ระบบนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ระบบสารสนเทศสามารถแบ่งออกเป็นกี่ระบบย่อย ได้แก่อะไรบ้าง ?

2.1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)

2.2. ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)

2.3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)

2.4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)

3. ลักษณะของระบบเอ็มไอเอสที่ดีควรเป็นอย่างไร ?

3.1. ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน

3.2. ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร

3.3. ระบบเอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ

3.4. ระบบเอ็มไอเอส จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร

3.5. ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

4. คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของข้อมูลจะต้องมีอะไรบ้าง?

4.1. ความถูกต้อง

4.2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน

4.3. ความสมบูรณ์

4.4. ความชัดเจนและกะทัดรัด

4.5. ความสอดคล้อง

5. การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศควรมีการทำอะไรบ้าง?

5.1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล

5.2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็น

5.3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน

6. ความรู้แบ่งเป็น 2 ประเภทคืออะไร?

6.1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)

6.2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

7. จงอธิบายความหมายของ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน ว่าคืออะไร

ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

8. จงอธิบายความหมายของ ความรู้ที่ชัดเจน ว่าคืออะไร

ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

9. องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process) มีอะไรบ้าง?

9.1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

9.2. “เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

9.3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

10. เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการอะไรบ้าง?

10.1. ระบบประมวลผล

10.2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม

10.3. การจัดการข้อมูล

Home