หน้าก่อนหน้า

บทที่ 6 ตัวอย่างระบบสารสนเทศ

เรื่องต่อไป

6.3 ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base)

เป็นระบบที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้เป็นฐานในการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน เป็นระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับการช่วยตัดสินใจ ซึ่งสามารถใช้ได้กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ได้ทุกเรื่อง

การจัดการความรู้

เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมกัน ได้แก่

1. บรรลุเป้าหมายของงาน

2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน

3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้

4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน



เครื่องมือจัดการความรู้

1. ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : COP)

2. การศึกษาดูงาน (Study tour)

3. การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After action review : AAR)

4. การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)

5. เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling)

6. การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรีสาธก (Appreciative Inquiring)

7. เวทีเสวนา หรือสุนทรีสนทนา (Dialogue)

8. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)

9. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)

10. มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)

11. การสอนงาน (Coaching)

12. การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)

13. ฟอร์ม ถาม – ตอบ (Forum)

14. บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)

15. เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)



ประเภทของความรู้


รูปที่7.6 ประเภทของความรู้


ที่มา : http://farm4.static.flickr.com/

1. Explicit Knowledge

เป็นความรู้ที่สามารถบันทึกได้ ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน สามารถถ่ายทอดได้ง่าย และ เรียนรู้ได้ง่าย สามารถถ่ายทอดในลักษณะของ One To Many ได้ซึ่งสะดวกใช้ในการบริหารงานระดับล่าง

2. Tacit Knowledge

เป็นความรู้ที่ไม่สามารถสามารถบันทึกได้หรือบันทึกได้ไม่หมด เช่น ประสบการณ์ สัญชาตญาณ ความชำนาญ เกิดจากการสั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน จำเป็นต้องมีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีหรือใกล้ชิดเกิดขึ้นในการถ่ายทอด ในลักษณะของ One To One เช่น การ Coachingส่วนใหญ่เป็นการทำงานในระดับบริหาร การตัดสินใจต่างๆ ข้อเสีย คือ ความรู้จะอยู่กับคนๆ เดียว จะทำให้เมื่อเสียทรัพยากรบุคคลไป ก็เสียความรู้ที่คนๆ นั้นมีไปด้วย

การแลกเปลี่ยน Tacit Knowledge

Tacit Knowledge สามารถจะดึงออกมาเป็น Explicit Knowledge ได้ส่วนหนึ่งแต่ก็ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด เนื่องจากความรู้นั้นๆ มันเข้าไปฝังตัวรวมกับบุคคลจากประสบการณ์ที่บุคคลๆ นั้นสะสมมาเป็นสิบๆ ปี เช่น เราอ่านหนังสือของไทเกอร์วูดส์แต่เราไม่สามารถเลียนแบบท่าตี (Downswing) ของไทเกอร์วูดส์ได้ทั้งหมด เนื่องจากท่าตีของไทเกอร์วูดส์เกิดจากการซ้อมและสั่งสมประสบการณ์มานับเป็นสิบๆ ปีในแนวทางของการทำงานการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ Tacit Knowledge มีความเป็นไปได้ยากมากในอดีต เพราะหมายถึง การต้องเข้าไปทำงานใกล้ชิดกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การมีพี่เลี้ยงฝึกงาน โดยเกิดขึ้นในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One) จึงจะสามารถแลกเปลี่ยน Tacit Knowledge จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ แต่ในส่วนนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้าไปมีบทบาทในการสร้างรูปแบบ และกระบวนการที่สามารถเก็บความรู้ และบริหารความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Learning Organization การเรียนรู้องค์กร




รูปที่ 7.7 Learning Organization การเรียนรู้องค์กร


ที่มา : http://farm6.static.flickr.com/

ความรู้ (Knowledge)มีความเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ขององค์กร (Learning Organization) โดย การเรียนรู้ขององค์กรมีแนวคิด (Concept) คือ การที่องค์กรต้องสร้างความยั่งยืน โดยเรียนรู้ทั้งจากตนเองและผู้อื่น หรือ จากภายในและภายนอกองค์กรการสร้าง การเรียนรู้ในองค์กร จะต้องมีฐานความรู้ (Knowledge Based) คือมีกระบวนการจัดเก็บความรู้ขององค์กร หรือบทเรียนต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในองค์กร ในกรณีที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน หรือที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว สามารถนำทางแก้ไขในอดีตมาใช้แก้ไขปัญหาในปัจจุบันได้ เทคนิคจะต้องมีการจัดเก็บความรู้ในองค์กร มีการนำมาใช้บริหาร และนำมาตั้งรูปแบบตัวชี้วัด



Learning organization จะประกอบกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม

1. ต้องมีกระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

2. ต้องมีกระบวนการในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดี

3. ต้องมีกระบวนการเรียนรู้ข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อที่จะไม่ทำผิดแบบเดิมซ้ำอีก

4. ต้องมีกระบวนในการเรียนรู้ base practice ของคนอื่นหรือคู่แข่ง

5. ต้องมีกระบวนการในการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง

การเกิดขึ้นของ Knowledge


ทฤษฏี Nonaka เป็นทฤษฏีที่อธิบายการเกิดขึ้นของความรู้ บอกว่าความรู้ขององค์กรสามารถเกิดขึ้นหลังจากการปฏิสัมพันธ์ของ Tacit และ Explicit Knowledge ซึ่งเป็นพื้นฐานของการจัดการความรู้ (Knowledge Management)




รูปที่ 7.8 การเกิดขึ้นของ Knowledge


ที่มา : http://farm3.static.flickr.com/

1. Socialization    เป็นการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้จาก Tacit Knowledge สู่ Tacit Knowledge คือจากคนไปสู่คน โดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของผู้สื่อสารระหว่างกัน อาจอยู่ในรูปการพูดคุยระหว่างกันอย่างไม่เป็นทางการ รูปแบบการประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีแก้ปัญหาในงาน การสอนงานระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ซึ่งทำให้เกิดความรู้ จาก Tacit หนึ่ง ไปสู่อีก Tacit หนึ่ง เช่น การประชุมทางไกล (VDO Conference)

2. Externalization    เป็นการดึงความรู้จาก Tacit Knowledge ออกมาเป็น Explicit Knowledge คือดึงความรู้จากภายในบุคคลถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ตำรา คู่มือปฏิบัติงาน ข้อดีของ Explicit Knowledge คือสามารถแลกเปลี่ยนให้กับคนจำนวนมากได้ เช่น การเล่น Twitter เมื่อเราทำการ Tweet จะเป็น Externalization

3. Combination    เป็นการรวบรวมความรู้ที่ได้จาก Explicit Knowledge ออกมาเป็น Explicit Knowledge คือ รวบรวมความรู้จากหนังสือ ตำรา Explicit Knowledge มาสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit Knowledge ใหม่ๆ เช่น เวลามีเพื่อนในกลุ่มมาต่อยอดเม้นใน Twitter เรื่อยๆจะเป็น Combination

4. Internalization    เป็นการนำความรู้จาก Explicit Knowledge กลับเข้าไปเป็นความรู้ Tacit Knowledge คือ การนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปปฏิบัติจริง เช่นหัวหน้างานเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน และลูกน้องอ่านแล้วสามารถทำงานได้ จะเกิดเป็นความรู้ประสบการณ์อยู่ในตัวลูกน้อง

Home