หน้าก่อนหน้า

บทที่ 6 ตัวอย่างระบบสารสนเทศ

เรื่องต่อไป

6.4 ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)

คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยา การคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป้าหมายของปัญญาประดิษฐ์ คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ตั้งแต่เห็น ฟัง เดิน พูด และรู้สึก รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์

ความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ได้เริ่มการศึกษาในปี ค.ศ.1950 โดยอาจารย์จาก ประเทศอเมริกาและอังกฤษ นิยามของปัญญาประดิษฐ์ได้ถูกกำหนดขึ้นในปี 1956 โดย John McCarthy ได้มีการศึกษา และพัฒนางานด้านปัญญาประดิษฐ์และได้มีการตั้งเกณฑ์ทดสอบเพื่อที่จะระบุว่า เครื่องจักรกล หรือระบบคอมพิวเตอร์สามารถคิดได้เหมือนมนุษย์ออกมาโดย Alan Turing นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แต่จนบัดนี้เครื่องจักรกลหรือระบบคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่สามารถผ่านเกณฑ์ของ Alan Turing ได้เลย ณ ปัจจุบันระบบปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถสร้างคำตอบที่แปลกใหม่หรือคำตอบที่มาจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ของระบบเองได้ เพียงแต่เป็นการลอกเลียนความสามารถของมนุษย์ได้เท่านั้น



ลักษณะของงานปัญญาประดิษฐ์

1). Cognitive Science เป็นงานที่พัฒนาบนพื้นฐานของ ชีววิทยา จิตวิทยา และสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ประกอบด้วย ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบงานความรู้ ระบบเครือข่ายนิวรอน ฟัซซี่ลอจิก เจนเนติกอัลกอริทึม เอเยนต์ชาญฉลาด และระบบการเรียนรู้

2). Robotics เป็นงานซึ่งพัฒนาบนพื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ และเป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต์ให้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนกับมนุษย์ โดยพยายามทำให้หุ่นยนต์มีทักษะให้ด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ ทักษะในการมองเห็น ทักษะในการสัมผัส ทักษะในการหยิบจับสิ่งของ ทักษะในการเคลื่อนไหว และทักษะในการนำทางเพื่อไปยังที่หมาย

3). Natural interface เป็นงานซึ่งเน้นการพัฒนาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจในสิ่งที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกลได้อย่างสะดวก ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ ดังนี้ ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ การพัฒนาระบบงานลักษณะนี้จะรวมเทคนิคของการจดจำคำพูดและเสียงของผู้ใช้งาน ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้มนุษย์สามารถพูดหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ได้ด้วย ภาษามนุษย์ที่ใช้กันทั่วไป และระบบภาพเสมือนจริง เป็นการสร้างภาพเสมือนจริงหรือภาพจำลองของเหตุการณ์โดยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์ต่างๆ ไว้กับอุปกรณ์ที่ใช้เป็น Input / output ของระบบด้วย



ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์

1. ข้อมูล จะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานความรู้ขององค์การ พนักงานสามารถเข้าไป สืบค้นและหาคำตอบหรือหาคำปรึกษาได้ทุกเวลา

2. เพิ่มความสามารถให้กับฐาน ความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้านซึ่งมี ปริมาณมากและมีความซับซ้อนมากเกนไปสำหรับมนุษย์

3. ช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำหรืองานที่เบื่อหน่ายของมนุษย์

4. ช่วยสร้างกลไกที่ ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวของมนุษย์มาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ



ประเภทของ AI

AI ครอบคลุมสาขาต่างๆ ดังนี้

1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert-Systems) เป็นระบบการให้คำแนะนำในการจัดการ ปัญหา โดยอาศัยความรู้ของผู้เชี่ยวชาญที่โปรแกรมไว้

2. Neural Networks เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถกระทำ หรือจำลอง การทำงาน ของสมองมนุษย์ได้

3. Genetic Algorithms ปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยในการสร้างทางเลือก จำนวนมากในการ แก้ปัญหา รวมทั้งทางเลือกที่ดีที่สุด

4. การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) เป็นการประมวลผลที่ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและโต้ตอบกับคำสั่ง หรือข้อความที่เป็นภาษา “ธรรมชาติ” ของมนุษย์ได้

5. ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems) เป็นระบบที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยสามารถโต้ตอบ หรือมีปฏิกิริยากับสถานการณ์แวดล้อมได้้

6. ระบบการมองเห็น (Vision Systems) ระบบที่คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกเก็บรักษาและจัดการกับภาษาที่มองเห็น หรือรูปภาพได้ เป็นการนำระบบนี้มาใช้ในการวิเคราะห์รอยนิ้วมือ

7. หุ่นยนต์ (Robotic) การพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกล ให้ทำงานซึ่งมีลักษณะที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือเป็นงานที่น่าเบื่อ หรือทำให้เกิด ความเมื่อยล้าแก่มนุษย์



 


รูปที่ 6.9 ตารางเปรียบเทียบ ปัญญาของมนุษย์และ AI


ที่มา : http://elearning.northcm.ac.th/

งานทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์

งานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ นั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ ซึ่งแล้วแต่ไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ในการนำไปประยุกต์ใช้แต่โดยทั่วไป เราสามารถแบ่งแขนงของ งานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ ได้ดังนี้

1. การเล่นเกม

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นอย่างแรกๆของ AI เลยทีเดียว ในการ วิจัยเกี่ยวกับเกมของปัญญาประดิษฐ์จะเน้นไปในการเล่นเกมกระดาน เพราะเกมเหล่านี้จะมีกฎกติกาที่ตายตัว และไม่มีความสลับซับช้อนมากในการเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผล มากนัก เช่นเกม หมากรุก เป็นต้น การพัฒนาทางด้านนี้ทำให้เกิดขบวนการการค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด (Heuristics Search) ซึ่งเป็นงานวิจัยที่สำคัญของปัญญาประดิษฐ์อีกด้านแขนงหนึ่ง

2. การให้เหตุผลและการพิสูจน์ทฤษฎีอย่างอัตโนมัติ

งานในแขนงนี้เป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดของกระบวนการในทางปัญญาประดิษฐ์ซึ่งในอดีตนักคณิตศาสตร์หลายท่านพยายามที่จะใช้คณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาต่างๆอยู่เสมอ

3. ระบบผู้เชียวชาญ (Expert System)

ระบบผู้เชี่ยวชาญถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนและไม่มีโครงสร้าง เนื่องจากปัญหาในลักษณะนี้ จะไม่สามารถตัดสินใจด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว การแก้ปัญหาจะต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างความรู้ทั้งที่ถูกจัดเรียงอย่างเป็นระบบ และความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งทำให้ ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนประกอบที่แตกต่างจากระบบสารสนเทศปกติ การพัฒนา ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่มีความละเอียดอ่อน และซับซ้อน ซึ่งผู้พัฒนาระบบต้องใช้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความเข้าใจ และประสบการณ์อย่างสูง ตลอดจนต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่ายสูงในการ

ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Benefits of expert systems)

1. ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญเสียไป เมื่อเกิดการลาออกของพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ

2. ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพ และมีศักยภาพในการนำมาใช้งานได้อย่างทันท่วงทีเมื่อต้องการ

3. ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่

4. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อาจเกิดกับมนุษย์ เช่น ความเมื่อยล้า ความสับสนวุ่นวาย หรือปัญหาอารมณ์

5. ใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า

4. การเข้าใจภาษาธรรมชาติและการสร้างรูปแบบความหมาย

ปัญญาประดิษฐ์ชนิดนี้ เน้นไปที่การสร้างโปรแกรมที่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ได้ มีการตอบโต้กับมนุษย์ได้ อาจจะเป็นลักษณะการพูดตอบโต้หรือการสื่อความหมายในรูปแบบอื่น แม้จะมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญญาประดิษฐ์ ในลักษณะนี้ก็ต้องถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าทีควร เพราะภาษาของมนุษย์เรานั้นมีหลายภาษาแล้วแต่ถิ่นฐานเชื้อชาติ รวมถึงศัพท์แสลงต่างๆที่ออกจะเป็นการยากสักหน่อยในการพัฒนาแต่เชื่อแน่ว่าในระยะเวลาไม่นานนี้ปัญญาประดิษฐ์ จะสามารถทำได้อย่างดีทีเดียว

5. การสร้างรูปแบบตามอย่างการทำงานของมนุษย์

ปัญญาประดิษฐ์ในแขนงนี้เน้นหนักไปทางด้าน การเลียนแบบความคิดมนุษย์ และมีสติปัญญาที่เท่าทันกัน โดยมุ่งเน้นศึกษาไปในวิธีคิดของมนุษย์เพื่อเลียนแบบออกมาเป็นปัญญาประดิษฐ์

6. การวางแผนและหุ่นยนต์

เป็นการสร้างและออกแบบหุ่นยนต์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมนุษย์เรา หุ่นยนต์อาจจะถูกสั่งให้เดินหน้าเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาได้แต่เมื่อเจอสิ่งกีดขวางบางทีมันก็ดันทุลังที่จะเดินหน้าต่อไป เพราะโปรแกรมเขียนมาอย่างนั้น แต่ในปัจจุบันมีหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น

7. ภาษาและสภาพแวดล้อมสำหรับ AI

การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์นั้น เป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้มีการพัฒนาในส่วนของโปรแกรม ควบคู่ไปด้วยกัน โปรแกรมเมอร์จะต้องเรียนรู้และพัฒนาเทคนิคในการเขียนโปรแกรมควบคู่กันไป

ปัญญาประดิษฐ์ ในระบบธุรกิจ

1. Fuzzy logic คลุมเครือ บอกไม่ได้ชัดเจน เช่นอุปกรณ์ที่ไปใช้ในเครื่องซักผ้า (ชนิดผ้า) การพัฒนางาน ด้านปัญญาประดิษฐ์ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎพื้นฐาน มีความสามารถทำงาน ข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องมีค่าเที่ยงตรงเสมอ และอาจนำไปใช้ แก้ปัญหาที่มนุษย์ ไม่สามารถแก้ไข ได้มาก่อน ประกอบด้วยนิยามและเทคนิคต่าง ๆ สำหรับใช้เป็นรูปแบบแทนความรู้ และการอ้างอิง ถ้าความรู้ที่มีค่า ไม่เที่ยงตรง (Imprecise) ไม่แน่นอน (Uncertain) และไม่สามารถเชื่อถือได้ unreliable

2. Genetic Algorithms การปรับเปลี่ยนสารพันธุกรรมของยีนส์ หมายถึง วิธีการแก้ปัญหาที่ใช้แนวทางเดียวกับ วิธีการที่ สิ่งมีชีวิตปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือวิวัฒนาการ (Evolution) วิธีการที่ถูกโปรแกรมให้ทำการเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงส่วนประกอบ ของระบบโดยการสร้างขึ้นมาใหม่ การดัดแปลงและการคัดสรรวิธีธรรมชาติใช้ Function คณิตศาสตร์ให้เกิดโปรแกรมใหม่ๆ มาใช้งาน (ประโยชน์แก้ปัญหา ออกแบบสินค้า ตรวจสอบระบบการทำงานต่างๆ)

3. ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI System) ระบบเจนเนติกอัลกอริทึม ฟัสซีโลจิก ระบบเครือข่ายนิวรอน และระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถนำมาบูรณาการ เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว เพื่อจะได้เลือกใช้แต่ส่วนที่ดีที่สุด ของเทคโนโลยีแต่ละอย่าง ระบบดังกล่าวเรียกว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์ แบบผสมผสาน (Hybrid AI System) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในงานทางธุรกิจปัจจุบัน

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในปัจจุบัน

ในปัจจุบันหลายหน่วยงานพยายามส่งเสริมด้านการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับ AI อยู่หลายแห่ง หลายองค์กรจัดให้มีการแข่งขันเกี่ยวกับการเขียน AI อยู่เสมอ หรืออย่างที่เพิ่งผ่านไปสดๆ ร้อนๆ อย่าง Robocode Thailand Contest 2009 ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษารวมทั้งประชาชนทั่วไปหันมาประลองความสามารถทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์กัน

แม้ปัญญาประดิษฐ์จะทำอะไรได้มากมายแต่หากเทียบกับจุดมุ่งหมายเดิมที่ต้องการสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่มีความรู้ความคิดเท่าทันมนุษย์แล้วนับได้ว่าปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันยังห่างไกลกับความซับซ้อนของระบบความคิดของมนุษย์พอสมควร แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย สิ่งที่ปัญญาประดิษฐ์ยังขาดไปคือ จินตนาการ และแรงบันดานใจ ที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์เราทุกคนแล้วแต่จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามวัยและประสบการณ์ รวมทั้งความรู้จักคิดรู้จักตั้งคำถาม หรือการพัฒนาองค์ความรู้จากประสบการณ์ ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถมีได้ทัดเทียมกับมนุษย์เรา แต่หากเปรียบเทียบกันในเรื่อง ความว่องไวแม่นยำในการคิดการประมวลผลแล้วแน่นอนว่า มนุษย์เราไม่สามารถทำได้เร็วเท่า ความว่องไวแม่นยำซึ่งเป็นจุดเด่นของ สมองกลอยู่แล้ว แถมซ้ำมนุษย์เรายิ่งแก่ก็ยิ่งหลงๆลืมๆไปตามวัย

ดังนั้นพอจะอนุมานได้ว่าปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวเสริมความรู้ของมนุษย์เราในด้านที่บกพร่องต่างๆ เป็นการเติมเต็มในบางสิ่งที่มนุษย์เราขาดหายไป หรือ หลงลืมไปในบางรายละเอียด ทั้งการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ยังเป็นการพิสูจน์ศักยภาพของมนุษย์ว่าจะสามารถพัฒนาสิ่งไม่มีชีวิตให้กลับมา เป็นสิ่งซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดอย่างมนุษย์หรือเข้าใกล้มนุษย์ได้มากน้อย เพียงใด ล้วนเป็นคำถามที่น่าสงสัยและรอการไขสู่คำตอบอยู่ทุกเมื่อ

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ ( A.I.)

ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาประยุกต์เพื่อการใช้งานในหลายๆส่วน ซึ่ง จุดเด่น ของปัญญาประดิษฐ์ คือสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีความแม่นยำสูง และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว

- ด้านการแพทย์       มีการนำแขนกลเข้าไปช่วยการผ่าตัด ซึ่ง สามารถทำงานได้ละเอียดกว่ามนุษย์มาก และข้อดีอีกประการคือการไม่มีความวิตกกังวล เกิดขึ้นในขณะทำงานอย่างเช่นในมนุษย์ที่อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้ การใช้แขนกลช่วยในการผ่าตัด เป็นการทำงานที่มีความปลอดภัยสูง และอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์จึงเป็นการร่วมงานกันอย่างดีเยี่ยมระหว่างคนกับเครื่องจักรกล

- ด้านงานวิจัย       ในหลายงานวิจัย เริ่มมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน เช่นการสำรวจในบริเวณพื้นที่ทีมีความเสี่ยง อย่าง ปากปล่องภูเขาๆไฟ หรือในมหาสมุทรที่มีความลึกอย่างมากก็สามารถใช้หุ่นยนต์สำรวจลงไปทำงานแทนได้ เพราะเครื่องจักรพวกนี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ดีกว่ามนุษย์มาก ทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดและแม่นยำกว่ามนุษย์

- ด้านอุตสาหกรรม      เป็นการช่วยลดภาระทางต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก ทั้งในงานบางประเภทที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือมีความเสี่ยงสูง จนไม่ค่อยมีใครอยากทำก็สามารถใช้ หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์มาทำงานแทนได้้

- ด้านการบันเทิง       มีการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถตอบโต้กับมนุษย์ได้ เป็นสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนเล่น

- ด้านทางการทหาร        ปัญญาประดิษฐ์ในพวกนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็น เครื่องบินไร้คนขับ รถถังไร้คนขับ โดยมีจุดประสงค์หลักในทางด้านความมั่นคง





Home