หน้าก่อนหน้า

บทที่ 6 ตัวอย่างระบบสารสนเทศ

เรื่องต่อไป

6.5 ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligent)

BI (Business Intelligence) คือ เทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ วิเคราะห์ และการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการดูในหลากหลายมุมมอง (Multidimensional Model) ของแต่หน่วยงาน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานในองค์กรทำการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น BI Application จะรวบรวมการทำงานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แบบสอบถามและสร้างรายงานเพื่อการวิเคราะห์ ระบบ BI คือ software ที่ดำเนินการดังกล่าวข้างต้น

ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence : BI) เป็นเทคนิคที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ ดึงข้อมูลที่โดดเด่น ตัวอย่างเช่น ยอดขาย หรือสินค้า จากหน่วยใดหน่วยหนึ่งมาแสดงผลโดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น


รูปที่ 6.10 BI-Business Intelligence

ที่มา : http://www.thaibizcom.com/



รูปที่ 6.11 ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence)

ที่มา : http://cdn.gotoknow.org/


Business Intelligence (BI)

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา เช่นเดียวกับ ระบบธุรกิจก็มีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง และมากขึ้นด้วย จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าการที่องค์กรจะอยู่รอดได้นั้นจะต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยและทันท่วงที เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและสามารถนำไปวางแผน หรือ ตอบปัญหาเชิงธุรกิจได้ทันต่อเหตุการณ์ ให้กับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ในการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศเหล่านั้น ประการแรกองค์กรจำเป็นต้องแสวงหาหนทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด ทั้งข้อมูลภายในขององค์กรเองและข้อมูลขององค์กรคู่แข่งรวมถึงข้อมูลขององค์กรอื่นๆ ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน ประการที่สองการเลือกสรรข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณค่าจากแหล่งข้อมูลที่มีขนาดมหึมา เพื่อให้แน่ใจว่าสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมานั้นเป็นสารสนเทศที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวองค์กรจึงจำเป็นต้องมีระบบที่สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีคุณค่าต่อกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร



แนวคิดเกี่ยวกับ Business Intelligence Competency Center (BICC)

หลาย ๆ องค์กรทางธุรกิจกำลังเริ่มนำความคิดเกี่ยวกับ BICC หรือ Business Intelligence Competency Center มาใช้ Gartner Research ที่มา : www.Gartner.com นิยาม BICC ว่าเป็นการผสมผสานระหว่างงานที่เจาะจง บทบาทของแต่ละบุคคล ความรับผิดชอบ และหน่วยงานที่ส่งเสริมการใช้ BI ในองค์กรเข้าด้วยกัน ความคาดหวังของ BICC คือสามารถแสดงบทบาทเป็นศูนย์กลางของข้อมูลทางธุรกิจ ในการที่จะขับเคลื่อนและสนับสนุนการใช้ BI ในทุกหนทุกแห่งขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ พึงระลึกไว้ว่า BI ไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น มันยังเป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมกลยุทธ์ทั้งหมดด้านธุรกิจเอาไว้ในที่เดียว

การวางกลยุทธ์ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence Strategy)

การวางกลยุทธ์ระบบธุรกิจอัจฉริยะ เป็นวิถีทางที่ดีที่สุดในการที่ องค์กรจะรวมเอาหลักการบริหารธุรกิจผสานเข้ากับเทคโนโลยี สารสนเทศอันทันสมัย เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร โดยระบบธุรกิจอัจฉริยะนี้ จะสามารถให้สารสนเทศที่ถูกต้อง ทันเวลา เพื่อสนับสนุนระบบการบริหารและการประเมินผลการดำเนินงาน (Corporate Performance Management : CPM) มากกว่าการใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจเช่นในอดีต

ก่อนการนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งานในธุรกิจ ผู้บริหาร จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อระบบธุรกิจอัจฉริยะก่อน

แต่ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (BI) คือ การรวมคน-กระบวนงาน- เทคโนโลยี (People-Process-Technology) เข้าด้วยกัน ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจได้มากกว่า ร้อยละ 90 โดยมี ส่วนประกอบของคน (people) และกระบวนงาน (process) รวมกันถึงร้อยละ 90 ส่วนเทคโนโลยี (ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ร้อยละ 10 ซึ่งเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน และประมวลผลของระบบธุรกิจอัจฉริยะ เพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่ทันสมัยต่อการใช้งาน (timely) เชื่อถือได้ สำหรับสนับสนุน การตัดสินใจและการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร (Electro smart)


รูปที่ 6.12 แผนภาพแสดงการนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้ในธุรกิจ (ดัดแปลงจาก Business Intelligence Strategy, Electrosmart, 2009)

ที่มา : http://uppic.happymass.com/



รูปที่ 6.13 องค์ประกอบของระบบธุรกิจอัจฉริยะ

ที่มา : http://uppic.happymass.com/


Home