หน้าก่อนหน้า

บทที่ 4 ระบบสารสนเทศในองค์กร

เรื่องต่อไป

4.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในด้านการผลิต มีส่วนช่วยในการดูแลควบคุมงานของผู้บริหารลดลง พร้อมทั้งการวางแผนการใช้งานและการจัดหาของทรัพยากรเพื่อให้ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตใช้ได้ทันตามความต้องการ

1. ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

1.1 แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัทเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในด้านการผลิต เช่น เอกสารเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ การผลิต เป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการ รวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้ ข้อจำกัดของจำนวนพนักงานที่มี การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลัง และโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากสิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลสารสนเทศการจัดการในด้านการผลิต

1.2 ระบบประมวลผลรายการในระบบประมวลผลรายการจะได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในด้านการผลิตที่ถูกประมวลผลออกมา เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ ข้อมูลสินค้าคงคลัง ข้อมูลขบวนการผลิต เป็นต้น

1.3 แหล่งข้อมูลภายนอก เป็นข้อมูลกระบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท วารสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องของแรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้

2. ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

วัตถุประสงค์ที่นำระบบย่อยเข้ามาใช้ในการจัดการด้านการผลิต เพื่อผลิตสินค้าให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มกระบานการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการส่งสินค้าไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยระบบย่อยที่นำเข้ามาใช้ ได้แก่

2.1 การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์

2.2 การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ

2.3 การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ การทำนาย การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง และการพัฒนาตารางการผลิต

2.4 การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต (Manufacturing Resource Planning : MRPII) ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก

2.5 การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การควบคุมสินค้าคงคลังให้มีสินค้าเก็บอยู่น้อยที่สุด และเพียงพอที่นำไปผลิตให้ทันเวลา เพราะการเก็บสินค้าไว้จำนวนมากทำให้สิ้นเปลือง ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมสินค้าอยู่ตลอดเวลา

2.6 การควบคุมกระบวนการผลิต คือ การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศ ฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในกระบวนการผลิต เป็นต้น

2.7 การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

2.8 การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) กระบวนการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ



Home