ถัดไป ก่อนหน้า
3.2 Toolbars
a. Toolbar basics
Toolbar จะใช้ในส่วนของ header และ footer โดยมีscrollของเพจตามค่าเริ่มต้น แต่สามารถ fixตำแหน่ง และใช้ toolbar persistent เข้ามาช่วยในเรื่องการส่งข้ามเพจได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่ component navbar ได้ใน toolbar หรือในเนื้อหาของเพจ
Toolbar types
ลักษณะของ Toolbarมีลักษณะมาตรฐาน อยู่ 2 ลักษณะ คือ Header และ Footer
- ในส่วน Header bar
มีหน้าที่เป็น title ของเพจ มักจะเป็นส่วนแรกของเพจ ซึ่งจะมี title และอีก 2 ปุ่ม แสดงอยู่
- ในส่วน Footer bar
มักจะเป็นส่วนสุดท้ายของเพจ ซึ่งจะอิสระกว่าในส่วนของ Header bar ในแง่ของเนื้อหา
และการทำงาน แต่มักจะมีกลุ่มของtext และ button แสดงอยู่
หากใน header หรือ footer มีการเรียกใช้ navbar จะเปลี่ยนลิงค์ที่เป็น listเรียงลงมา
ให้เป็นปุ่มในแนวนอนซึ่งจะทำให้ทำงานได้ดีขึ้น และสามารถดู attribute ที่เพิ่มลงใน toolbar
ได้เพิ่มเติมใน data- attribute reference
Toolbar positioning options
การเลือกตำแหน่งของToolbar
header และ footer จะมีตำแหน่งให้เลือกน้อย ซึ่งในค่าเริ่มต้นของ toolbar จะใช้โหมด "inline" positioning โดยโหมดนี้จะทำให้ header และ footer สามารถมองเห็นได้ในทุกๆอุปกรณ์ โดยไม่คำนึงถึง JavaScript และ CSS
- โหมด "fixed" positioning
จะเป็นการ fix toolbar ไว้ด้านบนสุดและล่างสุดของเบราว์เซอร์ ที่สนับสนุนการfixตำแหน่งของcss
ซึ่งรวมถึง desktop browsers ส่วนใหญ่ ,iOS5 +, Android 2.2 +, BlackBerry เป็นต้น ส่วนในเบราว์เซอร์ที่ไม่สนับสนุนการfixตำแหน่ง toolbar จะอยู่กลับไปอยู่ในโหมด "inline" positioning
หาก tap-toggling ถูกเปิดใช้งาน การสัมผัสหน้าจอจะเป็นการสลับการแสดงผลของ fix toolbar โดยการสัมผัสหน้าจอหนึ่งครั้งtoolbarจะถูกซ่อนไว้จนกว่าจะมีสัมผัสหน้าจออีกครั้ง ทำให้ผู้ใช้มีทางเลือก
ที่จะซ่อนtoolbar จนกว่าจะต้องการให้แสดงอีกครั้ง ซึ่งในความเป็นจริงคือไม่ได้ทำการซ่อน
แต่จะเป็นการสลับระหว่าง fixed position และ static position นั่นเอง
หากต้องการตั้งค่า header หรือ footer สามารถทำได้โดยเพิ่ม attributeที่ชื่อว่า data-position="fixed"
- โหมด "fullscreen" position
จะทำงานคล้ายๆกับfixed mode แต่ต่างกันที่ว่าถ้าไม่ได้ใช้โหมด fixed จะสามารถซ่อน toolbar ได้มากกว่า จึงเป็นประโยชน์สำหรับ apps ที่แสดงภาพหรือวิดีโอที่ต้องการให้แสดงผลเต็มหน้าจอ และแถบเครื่องมือสามารถซ่อนหรือเรียกให้ปรากฏโดยการแตะหน้าจอ ซึ่งแถบเครื่องมือในโหมดนี้
จะถูกนำมาใช้ได้ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง